เรื่องขุนช้างขุนแผน

                   ผู้แต่ง :      พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่

                   จาก :  วิชาภาษาไทย หมวด วรรณคดีและวรรณกรรม

                                      ณ เมืองสุพรรณบุรี กล่าวถึงครอบครัวสามครอบครัว คือ ครอบครัวของขุนไกรพลพ่าย รับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ  นางทองประศรี มีลูกชายด้วยกันชื่อพลายแก้ว ครอบครัวของขุนศรีวิชัย เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยาชื่อนางเทพทอง มีลูกชายชื่อขุนช้่าง ซึ่งหัวล้านมาแต่กำหนิด และครอบครัวของพันศ โยธาเป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ศรีประจัน มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ พิมพิลาไลย
วันหนึ่งสมเด็จพระพันวษา มีความประสงค์จะล่าควายป่า จึงสั่งให้ขุนไกรปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมไว้ แต่ควายป่าเหล่านั้ันแตกตื่นไม่ยอมเข้าคอก  ขุนไกรจึงใช้หอกแทงควายตายไปมากมาย ที่รอชีวิตก็หนีเข้าป่าไป สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกรเสีย  นางทองประศรีรู้ข่าวรีบพาพลายแก้วหนีไปอยู่เมืองกาญจนบุรี
ทางเมืองสุพรรณบุรี มีพวกโจรจันศรขึ้นปล้นบ้านของขุนศรีวิชัยและฆ่าขุนศรีวิชัยตาย ส่วนพันศรโยธาเดินทางไปค้าขายต่างเมือง พอกลับมาถึงบ้านก็เป็นไข้ป่าตาย
เมื่อพลายแก้วอายุได้ 15 ปี  ก็บวชเณรเรียนวิชาอยู่ที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลย ต่อมาที่วัดป่าเลไลยจัดให้มีเทศน์มหาชาติ เณรพลายแก้วเทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมพิลาไลยเลื่อมใสมากจนเปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์เทศ์ ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องผ้าห่มของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิมพิลาไลย อธิฐานขอให้ได้นางเป็นภรรยา ทำให้นางพิมพิลาไลยโกรธมาก ต่อมาเณรพลพลายแก้วก็สึก แล้วให้นางทองประศรีมาสู่ขอนางพิมพิลาไลยและแต่งงานกัน ทางกรุงศรีอยุธยาได้ข่าวว่ากองทัพเชียงใหม่ตีได้เมืองเชียงทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาจึงถามหาเชื้อสายของขุนไกร ขุนช้างซึ่งเข้าไปรับราชการอยู่จึงเล่าเรื่องราวความเก่งกล้าสามารถของพลายแก้ว  เพื่อหวังจะพรากพลายแก้วไปให้ไกลนางพิมพิลาไลย สมเด็จพระพันวษาจึงให้ไปตามตัวมา แล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับเมืองเชียงใหม่และได้รับชัยชนะ  นายบ้านแสนคำแมนแห่งหมู่บ้านจอมทอง เห็นว่าพลายแก้วกับพวกทหารไม่ได้เบียดเบียนให้ชาวบ้านเดือดร้อน จึงยกนางลาวทองลูกสางของตนให้เป็นภรรยาของพลายแก้ว ส่วนนางพิมพิลาไลยเมื่อสามีไปทัพได้ไม่นานก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หาย ขรัวตาจูวัดป่าเลไลยแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง อาการไข้จึงหาย ขุนช้างทำอุบายนำหม้อใส่กระดูกไปให้นางศรีประจันกับนางวันทองดูว่าพลายแก้วตายแล้ว และขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไว้เป็นม่ายหลวงตามกฏหมาย นางวันทองไม่เชื่อ แต่นางศรีประจันคิดว่าจริง ประกอบกับเห็นว่าขุนช้างเป็นเศรษฐีจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง นางวันทองจำต้องตามใจแม่ แต่นางไม่ยอมเข้าหอ ขณะนั้นพลายแก้วกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาและได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนแผนแสนสะท้าน จากนั้นก็พานางลาวทองกลับสุพรรณบุรี นางวันทองเห็นขุนแผนพาภรรยาใหม่มาด้วยก็โกรธด่าทอโต้ตอบกับนางลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองก็ตกเป็นภรรยาของขุนช้างอย่างจำใจ

ต่อมาขุนช้างและขุนแผนเข้าไปรับการอบรมในวังและได้เป็นมหาดเล็กเวรทั้ง 2 คน วันหนึ่งนางทองประศรีให้คนมาส่งข่าวว่านางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง ตอนเช้าสมเด็จพระพันวษาถามถึงขุนแผนขุนช้างบอกว่าขุนแผนปีนกำแพงวังหนีไปหาภรรยา  สมเด็จพระพันวษาโกรธตรัสให้ขุนแผนตระเวนด่านที่กาญจนบุรี  ห้ามเข้าเฝ้าและริบนางลาวทองเข้าเป็นม่ายหลวง ขุนแผนได้ทราบเรื่องก็โกรธขุนช้าง คิดจะแก้แค้นแต่ยังมีกำลังไม่พอ จึงออกตระเวนป่าไปโดยลำพัง คิดจะหาอาวุธ ม้า และ กุมารทอง สำหรับป้องกันตัว ได้ตระเวนไปจนถึงถิ่นของหมื่นหาญนักเลงใหญ่ ได้เข้าสมัครเข้าไปอยู่ด้วย เพราะหวังจะได้บัวคลี่ลูกสาวของหมื่นหาญ ได้ทำตัวนอบน้อมและตั้งใจทำงานเป็นอย่างดีจนเป็นที่รักใคร่ของหมื่นหาญถึงกับออกปากยกลูกสาวให้แต่งงานด้วย พอได้แต่งงานกับบัวคลี่แล้ว ขุนแผนก็ไม่ยอมทำงานร่วมกับหมื่นหาญ ทำให้หมื่นหาญโกรธคิดฆ่าขุนแผน เพราะขุนแผนอยู่ยงคงกระพันจึงให้บัวคลี่ใส่ยาพิษลงในอาหารให้ขุนแผนกิน แต่ผีพรายมาบอกให้รู้ตัว ขุนแผนจึงทำอุบายเป็นไข้ไม่ยอมกินอาหารแล้วออกปากขอลูกจากบัวคลี่ นางไม่รู้ความหมายก็ออกปากยกลูกให้ขุนแผน พอกลางคืนขณะที่บัวคลี่นอนหลับขุนแผนก็ผ่าท้องนางแล้วนำลูกไปทำพิธีตอนเช้าหมื่นหาญและภรรยารู้ว่าลูกสาวถูกผ่าท้องตายก็ติดตามขุนแผนไป แต่ก็สู้ขุนแผนไม่ได้ ขุนแผนเสกกุมารทองสำเร็จ จึงออกเดินทางต่อไป แล้วไปหาช่างตีดาบ หาเหล็ก และเครื่องใช้ต่าง ๆเตรียมไว้ตั้งพิธีตีดาบจนสำเร็จ ดาบนี้ให้ชื่อว่า ดาบฟ้าฟื้น ใช้เป็นอาวุธต่อไป
หลังจากนั้นเดินทางไปหาม้า ได้ไปพบคณะจัดซื้อม้าหลวง ได้เห็นลูกม้าลูกม้าตัวหนึ่งมีลักษณะถูกต้องตามตำราก็ชอบใจ ได้ออกปากซื้อ เจ้าหน้าที่ก็ขายให้ในราคาถูก  ขุนแผนจึงเสกหญ้าให้ม้ากิน และนำมาฝึกจนเป็นม้าแสนรู้ให้ชื่อว่า ม้าสีหมอก  เมื่อได้กุมารทอง ดาบฟ้าฟื้นและม้าสีหมอกครบตามความตั้งใจแล้วก็เดินทางกลับบ้าน คิดจะไปแก้แค้นขุนช้าง นางทองประศรีมารดาห้ามปรามก็ไม่ฟัง ได้เดินทางออกจากกาญจนบุรีไปยังสุพรรณบุรีขึ้นเรือนขุนช้าง ได้นางแก้วกิริยาลูกสาวพระยาสุโขทัยที่นำมาเป็นตัวจำนำไว้ในบ้านขุนช้างเป็นภรรยา แล้วพาวันทองหนีออกจากบ้าน ขุนช้างตื่นได้ออกติดตามแต่ตามไม่ทัน ได้ไปทูลฟ้องสมเด็จพระพันวษาให้กองทัพออกติดตามขุนแผน ขุนแผนไม่ยอมกลับได้ต่อสู้กับกองทัพทำให้ขุนเพชร ขุนรามถึงแก่ความตาย กองทัพต้องถอยกลับกรุง ขุนแผนจึงกลายเป็นกบฏ ต้องเที่ยวเร่ร่อนอยู่ในป่า จนนางวันทองตั้งท้องแก่ใกล้คลอด ขุนแผนสงสารกลัวนางจะเป็นอันตรายจึงยอมเข้ามอบตัวกับพระพิจิตร พระพิจิตรได้ส่งตัวเข้าสู้คดีในกรุง ขุนแผนชนะคดีและได้นางวันทองคืน ขุนแผนมีความคิดถึงลาวทอง ได้ขอให้จมื่นศรีช่วยขอให้ ขุนแผนถูกกริ้ว และถูกจำคุก แก้วกิริยาจึงตามไปปรนนิบัติในคุก วันหนึ่งขณะที่นางวันทองมาเยี่ยมขุนแผน ขุนช้างได้มาฉุดนางวันทองไปจนนางวันทองคลอดลูกให้ชื่อว่า พลายงาม เมื่อขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกของตัวเองจึงหลอกพลายงามไปฆ่าในป่า แต่ผีพรายของขุนแผนช่วยไว้ นางวันทองบอกความจริงและได้ให้พลายงามเดินทางไปอยู่กับย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี พลายงามอยู่กับย่าจนโต ได้บวชเป็นเณรและเล่าเรียนวิชาความรู้เก่งกล้าทั้งเวทมนตร์ คาถา และการสงคราม เมื่อมีโอกาสขุนแผนได้ให้จมื่นศรีนำพลายงามเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก  เมื่อมีศึกเชียงใหม่ พลายงามได้อาสาออกรบและทูลขอประทานอภัยโทษให้พ่อเพื่อไปรบ ขุนแผนและนางลาวทองจึงพ้นโทษ ขณะที่เดินทางไปทำสงครามนั้นผ่านเมืองพิจิตร ขุนแผนจึงแวะเยี่ยมพระพิจิตร เมื่อพลายงามได้พบนางศรีมาลาลูกสาวพระพิจิตรก็หลงรัก จึงได้ลอบเข้าหานาง ขุนแผนจึงทำการหมั้นหมายไว้ เมื่อชนะศึก พระเจ้าเชียงใหม่ได้ส่งสร้อยทอง และสร้อยฟ้ามาถวาย พระพันวษาได้แต่งตั้งขุนแผนเป็นพระสุรินทรลือไชยมไหสูรย์ภักดี ไปรั้งเมืองกาญจนบุรี และได้แต่งตั้งพลายงามเป็น จมื่นไวยวรนาถ และประทานสร้อยฟ้าให้แก่พลายงาม  จากนั้นก็ทรงจัดงานแต่งงานให้กับพลายงาม

ขณะที่ทำพิธีแต่งงานขุนช้างได้วิวาทกับพลายงาม ขุนช้างได้ทูลฟ้อง จึงโปรดให้มีการชำระความโดนการดำน้ำพิสูจน์ ขุนช้างแพ้ความ พระพันวษาโปรดให้ประหารชีวิต แต่พระไวยขอชีวิตไว้ ต่อมาพระไวยมีความคิดถึงแม่จึงไปรับนางวันทองมาอยู่ด้วย ขุนช้างติดตามไป แต่พระไวยไม่ยอมให้ขุนช้างจึงถวายฎีกา พระพันวษาจึงตรัสให้นางวันทองเลือกว่าจะอยู่กับใคร นางมีความลังเล เลือกไม่ได้ว่าจะอยู่กับใคร พระพันวษาทรงโกรธจึงรับสั่งให้ประหารชีวิต แม้พระไวยจะขออภัยโทษได้แล้ว แต่ด้วยเคราะห์ของนางวันทอง ทำให้เพชรฆาตเข้าใจผิดจึงประหารนางเสียก่อน
เมื่อจัดงานศพนางวันทองแล้ว ขุนแผนได้เลื่อนเป็นพระกาญจนบุรี นางสร้อยฟ้าได้ให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้พระไวยหลงใหลนางและเกลียดชังนางศรีมาลา พระกาญจนบุรีมาเตือน พระไวยโกรธลำเลิกบุญคุณกับพ่อ ทำให้พระกาญจนบุรีโกรธ คบคิดกับพลายชุมพลลูกชายซึ่งเกิดจากนางแก้วกิริยาปลอมเป็นมอญยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา หวังจะให้พระไวยออกต่อสู้ จะได้แก้แค้นได้สำเร็จ พระไวยรู้ตัวเพราะผีเปรตนางวันทองมาบอก พระพันวษาทรงทราบเรื่องโปรดให้มีการไต่สวน พลายชุมพลพิสูจน์ได้ว่า นางสร้อยฟ้ากับเถรขวาดได้ทำเสน่ห์จริงแต่นางสร้อยฟ้าไม่รับ จึงมีการพิสูจน์โดยการลุยไฟ สร้อยฟ้าแพ้ พระพันวษาสั่งให้ประหาร แต่นางศรีมาลาทูลขอไว้ นางสร้อยฟ้าจึงถูกเนรเทศกลับไปเชียงใหม่ และคลอดลูกชื่อ พลายยง

ต่อมานางศรีมาลาก็คลอดลูกชาย ขุนแผนจึงตั้งชื่อให้ว่า พลายเพชร   เถรขวาดมีความแค้นพลายชุมพล จึงปลอมเป็นจระเข้ไล่กัดกินคนมาจากทางเหนือหวังจะแก้แค้นพลายชุมพล พระพันวษาโปรดให้พลายชุมพลไปปราบ จระเข้เถรขวาดสู้ไม่ได้ถูกจับตัวมาถวายพระพันวษา และถูกประหารในที่สุด พลายชุมพลได้รับแต่งตั้งเป็นหลวงนายฤทธิ์ เหตุการณ์ร้ายแรงผ่านไป ทุกคนก็อยู่อย่างมีความสุข

                                                  ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

๑. ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี เราจึงควรมีความกตัญญูต่อบิดามารดาผู้ที่ให้ กำเนิดเรามา
๒. การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญสมัยก่อนเด็กผู้ชายจะเรียนหนังสือที่วัด
๓. วัดเป็นสถานที่ผูกพันกับชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
๔. ในสมัยก่อนจะมีการมัดจุกโกนจุกและนุ่งโจงกระเบนผูกขวัญรับขวัญ
๕. ผู้ชายมีการถวายตัวเข้ารับราชการ
๖. สมัยก่อนจะใช้สมุนไพรรักษาแผล และมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์
๗. สมัยก่อนเดินทางโดยเท้า และการขี่ม้า
๘. พ่อแม่ทุกคนรักลูกและ ยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อลูกได้

เรื่อง เงาะป่า

         เรื่อง  เงาะป่า

            ผู้แต่ง เหม เวชกร         จาก วรรณกรรม

                               ประวัติความเป็นมาเรื่องเงาะป่า  


เงาะป่า เป็นพระราชนิพนธ์บทละครในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องเอกของไทยที่จัดเข้าลักษณะวรรณคดี โศกนาฏกรรมแบบตะวันตก ทรงพระราชนิพนธ์ในช่วงที่ทรงพักฟื้นจากการประชวรด้วยพระโรคมาเลเรีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ.124 (พ.ศ.2448) โดยใช้เวลาทรงนิพนธ์ 8 วันเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินพระราชหฤทัยในระหว่างการพักฟื้น จากการประชวรพระราชนิพนธ์เรื่องเงาะป่า เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นพระอัจฉริยภาพทางศิลปะทั้งในด้านวรรณศิลป์ นาฏศิลป์ และคีตศิลป์ลักษณะคำประพันธ์เป็นบทละครรำ นอกจากนี้ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับ “รูปพวกเงา โดยสังเขป” (ความรู้เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา นิสัยใจคอ และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเงาะ) เนื้อเรื่องเต็มไปด้วยสาระ มีแนวคิดสำคัญที่เป็นสากลคือ เรื่องของความรัก ซึ่งเป็นความรู้สึกอันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมวลมนุษย์ชาติ ทุกภาษาและทุกชนชั้น“จบ บทประดิษฐ์แกล้ง กล่าวกลอนเรื่อง หลากเล่นละคร ก็ได้เงาะ ก็อยเกิดในดอน แดนพัท ลุงแฮป่า เป็นเรือนยากไร้ ย่อมรู้รักเป็น” การ ที่ทรงเลือก  “ความรัก” มาเป็นแนวคิดสำคัญของเรื่องเงาะป่าซึ่งเป็นเรื่องราวของชีวิตของตัวละครที่ เป็นชนกลุ่มน้อยที่ปราศจากความสำคัญและยังป่าเถื่อนในสายตาของคนเมือง แสดงให้เห็นถึงแนวพระราชดำริว่า มนุษย์นั้นมีความเสมอเหมือนกันในด้านอารมณ์และความรู้สึก แม้จะต่างเพศผิวพันธ์จะเจริญหรือล้าหลังก็ตาม

                                                          เนื้อเรื่องย่อบทละครเรื่องเงาะป่า

                              ซมพลาเป็นเงาะหนุ่มได้รักนางลำหับ ซึ่งซมพลามีบุญคุณกับลำหับในการช่วยชีวิตตอนที่ไปเที่ยวป่าและโดนงูรัดเลย เกิดรักกัน ตามความเชื่อที่ว่าชายใดแตะเนื้อต้องตัว หญิงถือว่าเป็นสามีของหญิงนั้น แต่ฮเนามาสู่ขอนางลำหับกับตองยิบและนางฮอย ซึ่งเป็นบิดามารดาของลำหับ ทั้งสองตกลงใจให้นางลำหับแต่งงานกับฮเนา ซึ่งมีความเหมาะสมในฐานะ และได้จัดพิธีแต่งงานให้ พวกเงาะมาช่วยงานกันทั้งหมู่บ้าน เมื่อนางลำหับกับฮเนาแต่งงานกัน จะต้องไปเดินป่าตามประเพณี 7 วัน ซมพลาได้ทำอุบายไปลักพาตัวนางลำหับหนีมาอยู่กับตนที่ในถ้ำ ฮเนานึกว่าซมพลาบังคับเอาตัวนางลำหับไปจึงออกติดตามจนพบ ซมพลากับฮเนาได้ต่อสู้กัน รำแก้วซึ่งเป็นพี่ชายของฮเนาได้ใช้ลูกดอกอาบยาพิษเป่าไปถูกซมพลาได้รับบาด เจ็บ นางลำหับไม่เห็นซมพลากลับมา จึงออกไปตามพบซมพลาถูกลูกดอกอาบยาพิษถึงแก่ความตายไปต่อหน้าต่อหน้า ก็เสียใจ นางลำหับรักซมพลามากจึงได้ใช้มีดฆ่าตัวเองตายตามซมพลา ส่วนฮเนาเมื่อได้รู้ว่านางลำหับกับซมพลารักกันและได้เห็นความรักอันเด็ด เดี่ยวของซมพลากับลำหับ และคิดว่าตนเป็นต้นเหตุให้ทั้งสองตาย จึงฆ่าตัวตายตามไปด้วย

คุณค่าและประโยชน์ที่ได้จากเรื่องเงาะป่า

  1. ความรู้เกี่ยวกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่และขนบธรรมเนียมประเพณีของพวกเงาะซา ไก ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ภาษา อาวุธ การแต่งกาย ความเชื่อ ประเพณีแต่งงาน ประเพณีงานศพ เช่นรู้ว่าพวกเงาะไม่มีกฎหมาย ไม่มีสถานที่ฟ้องร้องและตัดสินคดี เมื่อเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทก็ใช้วิธีตัดสินโดยการต่อสู้กันตัวต่อตัวคล้าย กับการดวล (duel) กันเช่นเดียวกับทางตะวันตก พวกเงาะนับถือผี วิญญาณ เจ้าป่า และรุกขเทวดา เชื่อถือเครื่องรางของขลัง เมื่อตายไปเชื่อว่าจะต้องรับฝังศพเพื่อมิให้เป็นเหยื่อสัตว์ร้าย และต้องย้ายทัพหนีวิญญาณของผู้ตาย ในการสู่ขอแต่งงานฝ่ายชายต้องนำผ้าคู่หนึ่งมาให้แก่พ่อแม่ฝ่ายหญิง หลังพิธีแต่งงานมีการให้โอวาทแล้วเลี้ยงฉลอง และฝ่ายหญิงต้องเข้าไปอยู่ในป่าตามลำพังกับเจ้าบ่าว 7 วัน จึงจะกลับมายังทับเพื่อศึกษาซึ่งกันและกันและแสดงให้เห็นว่าเจ้าบ่าวสามารถ ดูแลปกป้องได้
  2. ในสังคมของพวกเงาะนั้นด้อยความเจริญแต่เพียงด้านวัตถุ ส่วนทางด้านจิตใจมีความเจริญมากกว่าคนเมืองด้วยซ้ำไป เพราะพวกเงาะมีความรัก ความซื่อสัตย์สุจริต ความสามัคคีและมีคุณธรรม แม้จะมีความขัดแย้งกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดาแต่ในที่สุดก็เข้าใจกันได้
  3. ทราบถึงพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำภาษา ก็อย ซึ่งออกเสียงยากมากมาทรงพระราชนิพนธ์ปนไว้ในเรื่องมากมาย ทำให้เกิดบรรยากาศที่สมจริงพร้อมทั้งได้ทรงให้ความหมายไว้ในบทนำด้วยเพื่อ ช่วยให้อ่านได้เข้าใจยิ่งขึ้น

 ข้อคิดที่ได้จากเรื่องเงาะป่า

  1. ความรักของหนุ่มสาวนั้นมีอานุภาพรุนแรงที่สุด อาจบันดาลให้ผู้ที่อยู่ในห้วงรักทำอะไรๆ เพื่อความรักได้ทั้งนั้น บางครั้งก่อให้เกิดโศกนาฏกรรม เช่นในเรื่องเงาะป่า แม้ในปัจจุบันนี้ความตายของหนุ่มสาวที่เกิดจากความรักเป็นเหตุก็ยังคงมีอยู่ เสมอ ๆ
  2. ผู้ใดที่มีความรัก ไม่ว่าจะเป็นความรักประเภทใด ผู้นั้นก็มักจะมีความทุกข์ตามมาด้วยเพราะรักแล้วอาจไม่สมหวัง หรือรักแล้วอาจต้องพลัดพรากกัน (ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ ความรักเป็นสั่งที่ดีแต่ควรรักอย่างมีสติ)
  3. ไม่ว่าในสังคมใด แม้จะป่าเถื่อนเช่นสังคมเงาะ ก็ยกย่องผู้หญิงที่ซื่อสัตย์มั่นคงในความรักเหมือนนางลำหับ แม้ตายไปแล้วก็ยังมีผู้สรรเสริญ เป็นสัจธรรมที่แท้จริงคือความดีเท่านั้นที่คงทนจีรังยั่งยืน ชาวเงาะถึงแม้จะมีรูปชั่วตัวดำหรือมีความอัปลักษณ์แต่เป็นคนที่มีจิตใจดีงาม แสดงให้เห็นว่าอย่ามองคนเพียงรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น
  4. เกี่ยวกับประเพณีการแต่งงานแบบคลุมถุงชนว่าบางครั้งก่อให้เกิดความเดือดร้อน และความทุกข์ทรมาน เพราะคู่บ่าวสาวอาจมีคนรักอยู่แล้วเหมือนนางลำหับในเรื่องนี้ ดังนั้นบิดามารดาจึงไม่ควรบังคับ ควรถามความสมัครใจของทั้งคู่ก่อน
  5. ลูกนั้นต้องมีความเคารพรักและแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณเช่นนางลำ หับที่ต้องยอมแต่งงานเพราะทดแทนบุญคุณของบิดามารดาทั้งที่ตนไม่เต็มใจ แต่ควรแสดงเหตุผลให้พ่อแม่เข้าใจ และควรไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจทำสิ่งใดลงไป